สระแก้ว

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

สระแก้ว

Equivalent terms

สระแก้ว

Associated terms

สระแก้ว

6 Archival description results for สระแก้ว

6 results directly related Exclude narrower terms

นางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์สมัยลพบุรี ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายเกี่ยวกับรูปนางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2518 ที่กล่าวว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-14 คือในสมัยระหว่างศิลปขอมสมัยไพรกเมง – กำพงพระ - กุเลน รูปนางปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปสตรีสูง 59 เซนติเมตร พบที่อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี การกำหนดอายุของประติมากรรมรูปนี้กำหนดได้ 2 ทาง คือ จากทรงผมและผ้านุ่ง ทรงผมที่รวบขึ้นไปเป็นมวยและห้อยตกลงมาเป็นวงพร้อมทั้งมีขมวดอยู่ภายใน มีมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร คือ ในสมัยไพรกเมง - กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ 13-14) ส่วนผ้าทรงเป็นผ้านุ่งจีบเป็นริ้วทั้งตัวและนุ่งแบบพับป้ายนั้น ไม่เคยปรากฎในศิลปขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-14) ผู้เขียนยืนยันว่า รูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปรัชญาบารมีสัมฤทธิ์รูปนี้ เป็นประติมากรรมสมัยลพบุรีที่หล่อขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มิใช่ศิลปแบบก่อนขอมราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

รายงานการเดินทางไปสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ

การสำรวจโบราณวัตถุสถานที่จังหวัดปราจีนบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษของคณะโบราณคดี ระหว่างวันที่ 21-27 มี.ค. 2513 ได้เยี่ยมชมโบราณวัตถุสถานที่สำคัญได้แก่ ที่อำเภออรัญญประเทศ ชมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สมาคมพุทธมามกสงเคราะห์ สำรวจซากโบราณสถานเมืองไผ่ ปราสาทเขาน้อย ที่อำเภอตาพญา ชมปราสาททัพเสียม ปราสาทหนองไผ่และประสาทสะล๊อกก๊อก ที่อำเภอวัฒนานคร ชมปราสาทสระหิน เสาประดับกรอบประตูศิลาจากปราสาทบ้านน้อย วัดนครธรรม ปราสาทอุโมงค์ ทับหลังศิลาหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านกรวดและปราสาทใบแขก ที่อำเภอขุนหาร จังหวัดศรีสะเกษ ชมปราสาทตำหนักไทร ทับหลังศิลาที่วัดภูฝ้าย และปราสาทบ้านเยอร์ ที่อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ชมปราสาทภูมิโพน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

วิจารณ์แบบศิลปในประเทศไทย ของ ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์

ผู้เขียนมีความเห็นตรงกันกับ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่เห็นว่า คำว่า สมัยทางประวัติศาสตร์ และแบบของศิลปะนั้น เป็นระยะเวลาต่างกัน ไม่ควรนำมาใช้ปะปนหรือใช้แทนกัน แต่ไม่เห็นด้วยกับการเสนอให้ใช้คำว่าศิลปะมอญ แทนคำว่า ศิลปะทวาราวดี พร้อมทั้งยอมรับว่า คำว่า ศิลปะลพบุรี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เหมาะสมตามที่ ดร.พิริยะ กล่าว สำหรับศิลปะไทยที่เสนอให้แบ่งออกตามท้องถิ่น ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเพราะคงจะมีมากมายหลายสกุลช่างจนเป็นการยุ่งยากแก่นักศึกษา รวมทั้งเรื่องที่เสนอให้นำศิลปะอู่ทองมารวมกับ ศิลปะอยุธยา และเรียกว่า ศิลปะอยุธยา ส่วนศิลปะรัตนโกสินทร์ที่ ดร.พิริยะ กล่าวว่า เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ลงมา และเสนอให้เรียกศิลปะก่อนหน้านั้นว่าศิลปะอยุธยา ผู้เขียนไม่เห็นด้วย สำหรับการศึกษาศิลปะศรีวิชัย หรือศิลปะทางภาคใต้ของประเทศไทย ผู้เขียนมีความเห็นคล้อยตามว่าควรจะแยกศึกษาจากกำเนิดที่มาต่าง ๆ กัน นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิจารณ์โบราณวัตถุที่นำมาจัดตั้งแสดงตามรูปในหนังสือ เฉพาะในส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกับ ดร.พิริยะ เท่านั้น.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

The Exhibition of Masterpieces from private collections displayed at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968 [part 3]

In commemoration of the 20th Anniversary of the International Council of Museums, the National council of museums of Thailand arranged an exhibition of masterpieces from private collections at the Bangkok National Museum from the 6th March-6th April 1968. Many famous art collectors in Bangkok participated in this exhibition from H.M. the King downwards and it was attended by 77,235 visitors. Now the objects of the Lopburi style will be described.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรขอม

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่องประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เริ่มเกี่ยวกับอาณาจักรขอมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์พระองค์แรก พระองค์ได้เสด็จกลับมาจากชวา เพื่อมาครองราชย์ที่เมืองอินทรปุระ และย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองหริหราลัย ศิลปะขอมสมัยกุเลนในรัชกาลของพระองค์เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปะขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร และศิลปะสมัยเมืองพระนคร ได้รับอิทธิพลทั้งจากศิลปะจามและศิลปะชวา ลำดับกษัตริย์ขอมที่ครองราชย์ต่อมา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 พระเจ้าอินทรวรมัน พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระเจ้าราเชนทรวรมัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ซึ่งรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 มีระยะเวลากว่า 100 ปี และอาจนับได้ว่าเป็นระยะที่วัฒนธรรมขอมเจริญสูงสุดอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเป็นรัชกาลของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระเจ้าชัยวีรวรมัน พระเจ้าสุริยวรมันที 1 พระเจ้าอุทัยทิตย วรมันที่ 2 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พระเจ้าศรีนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมาธิปรเมศวร ซึ่งเป็นพระราชาองค์สุดท้ายที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกของขอมที่ปราสาทนครวัด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

อาณาจักรเจนละ

บทความนี้มาจากหนังสือเรื่อง ประเทศที่ได้รับอิทธิพลอินเดียในแหลมอินโดจีน และหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Les Etats Hindouises d’Indochine et d’Indonesie) ของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ศูนย์กลางดั้งเดิมของอาณาจักรเจนละ คงตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำโขงแถบเมืองจำปาศักดิ์ในประเทศลาวปัจจุบัน อาณาจักรเจนละเป็นอาณาจักรขอมรุ่นต้นที่เคยเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรฟูนัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าภววรมันที่1 ลงมาจนถึงพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นระยะที่แผ่ขยายอำนาจลงไปทางทิศใต้แถบปากแม่น้ำโขง และทิศตะวันตกแถบทะเลสาบใหญ่ อันเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรฟูนันมาก่อน ต่อมาหลัง พ.ศ. 1249 อาณาจักรเจนละได้แบ่งแยกเป็น 2 แคว้น คือ ทางภาคเหนือหลายเป็นแคว้นเจนละบก ทางภาคใต้กลายเป็นแคว้นเจนละน้ำ ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แห่งเมืองศัมภุปุระ (สมโบร์) ได้ทรงรวบรวมแคว้นเจนละบกและแคว้นเจนละน้ำเข้าด้วยกันเป็นการเริ่มต้นอาณาจักรขอมอย่างแท้จริง ใน พ.ศ. 1345.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล