สระแก้ว

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

สระแก้ว

Equivalent terms

สระแก้ว

Associated terms

สระแก้ว

2 Archival description results for สระแก้ว

2 results directly related Exclude narrower terms

นางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์สมัยลพบุรี ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายเกี่ยวกับรูปนางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2518 ที่กล่าวว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-14 คือในสมัยระหว่างศิลปขอมสมัยไพรกเมง – กำพงพระ - กุเลน รูปนางปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปสตรีสูง 59 เซนติเมตร พบที่อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี การกำหนดอายุของประติมากรรมรูปนี้กำหนดได้ 2 ทาง คือ จากทรงผมและผ้านุ่ง ทรงผมที่รวบขึ้นไปเป็นมวยและห้อยตกลงมาเป็นวงพร้อมทั้งมีขมวดอยู่ภายใน มีมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร คือ ในสมัยไพรกเมง - กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ 13-14) ส่วนผ้าทรงเป็นผ้านุ่งจีบเป็นริ้วทั้งตัวและนุ่งแบบพับป้ายนั้น ไม่เคยปรากฎในศิลปขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-14) ผู้เขียนยืนยันว่า รูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปรัชญาบารมีสัมฤทธิ์รูปนี้ เป็นประติมากรรมสมัยลพบุรีที่หล่อขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มิใช่ศิลปแบบก่อนขอมราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม [ตอนที่ 3]

แปลจากบทความภาษาฝรั่งเศสเรื่อง “ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม จากด้านจารึกและลักษณะรูปภาพ” ของนายกมเลศวร ภัตตจริยะ โดยศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ทรงเรียบเรียงเนื่องด้วยจะเป็นความรู้ และมีเนื้อหาบางส่วนมีความเกี่ยวข้องในดินแดนไทยปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นต้นเค้าของศาสนาพราหมณ์ในไทยด้วย
(บทที่ 2 ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย) ศิลาจารึกขอมกล่าวถึงศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย 2 นิกาย คือ นิกายปาศุปัต (กลางพุทธศตวรรษที่ 12) และนิกายไศวะ (ต้นพุทธศตวรรษมี่ 15) ซึ่งทั้งสองนิกายเป็นการรับอิทธิพลมาจากอินเดีย ซึ่งหลังจากรัชกาลพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ไม่พบหลักฐานที่กล่าวถึงนิกายปาศุปัต และจารึกที่พบทั้งหมดกล่าวถึงนิกายไศวะเท่านั้น คัมภีร์ในนิกายไศวะพบในการท่องปุราณะ กาพย์ และสลักเป็นภาพเล่าเรื่อง รวมทั้งจารึกตามในศาสนสถาน นามของพระอิศวรที่พบในจารึกขอมมีจำนวนมาก นามจะเกี่ยวข้องกับคัมภีร์ต่างๆ สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง และจากคำที่มาจากคำเปรียบเปรย พบมาแล้วในจารึกก่อนเมืองพระนคร

Bhattacharya, Kamaleswar