เมียนมาร์

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

เมียนมาร์

Equivalent terms

เมียนมาร์

Associated terms

เมียนมาร์

4 Archival description results for เมียนมาร์

4 results directly related Exclude narrower terms

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา [ตอนที่ 1]

การประชุมสภาผู้มีความรู้ทางด้านตะวันออกระหว่างชาติ ครั้งที่ 27 จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เมืองแอนอาร์เบอร์ สหรัฐอเมริกา แบ่งการประชุมเป็น 2 แผนกคือ แผนกตะวันออกใกล้และอิสลาม เอเซียภาคใต้ เอเซียอาคเนย์ เอเซียภาคกลาง และทิวเขาอัลไต ผู้เขียนได้แสดงปาฐกถาภาษาอังกฤษในแผนกเอเซียอาคเนย์สมัยโบราณเรื่อง “วิวัฒนาการของเทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย และการตรวจตราผลที่ได้” ซึ่งเคยแต่งไว้เป็นหนังสือภาษาไทยชื่อ “เทวรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย” แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมผลการตรวจตราผลที่ได้จากใช้ประติมากรรมที่มีอายุจารึกบอกไว้บนฐานประกอบด้วย นอกจากนั้น ยังมีนักวิชาการแสดงปาฐกถาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอีกหลายท่าน คือ นายไวอัต (Wyatt) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน แสดงปาฐกถาเรื่อง “สาบาน 3 ครั้ง ในสมัยสุโขทัย” นายเวลลา แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย แสดงปาฐกถาเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นทั้งกษัตริย์ตามประเพณีและนักชาตินิยมปัจจุบัน” นายคันนิงแฮม แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา แสดงปาฐกถาเรื่อง “แพทย์ตามประเพณีไทย” และเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงบรรยายเรื่อง “รามสูร-เมขลา” นายสิงครเวล แห่งมหาวิทยาลัยมลายู บรรยายเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างมหากาพย์รามายณะฉบับของไทย มลายู และทมิฬ” นายกุศล วโรภาส แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐอิลลินอยส์ บรรยายเรื่อง “ศักดินาหรือแบบแผนยศของไทยแต่โบราณ” น.ส.สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ แสดงบทความเรื่อง “แหล่งของห้องสมุดในประเทศไทย” และ ดร.อุดม วโรตมสิกขดิตถ์ แสดงเรื่อง “การเน้นและกฎของเสียงในภาษาไทย”.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประวัติศาสตร์พม่าสมัยโบราณโดยย่อ

ชนชาติพยู หรือปยู ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศพม่าก่อนการอพยพลงมาของชนชาติทิเบต-พม่า โดยอาศัยอยู่แถบเมืองแปรทางภาคกลางของประเทศพม่า เรียกชื่อว่า อาณาจักรศรีเกษตร และมีหลักฐานว่าอาจตั้งมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 สำหรับอาณาจักรมอญได้ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1368 ส่วนเมืองพุกามของชนชาติพม่าซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองแปรได้ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ใน พ.ศ. 1392 เมืองพุกามได้เริ่มเข้ามาอยู่ในขั้นประวัติศาสตร์พร้อมกับพระเจ้าปยินพยะ ได้ทรงสร้างกำแพงล้อมรอบเมืองพุกาม กษัตริย์ที่สำคัญของเมืองพุกามได้แก่ พระเจ้าอโนรถา พระเจ้ากยันซิตถา พระเจ้าอลองคสิถุ พระเจ้านรปติสิถุ พระเจ้าถิโลมินโล พระเจ้านรถิหปเต ต่อมาเมืองพุกามล่มจมไป ประเทศพม่าได้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ทิศใต้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟ้ารั่ว ทิศเหนืออยู่ภายใต้อำนาจของ 3 พี่น้องไทย คือ อถินขยะ ยซะถินกยันและถิหถุ และทิศตะวันออกสร้างเมืองตองอูขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 1823 ต่อมาเมื่ออาณาจักรพม่าตั้งขึ้นใหม่ มีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้านันทบุเรง พระเจ้ามหาธรรมราชา พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา พระเจ้าอลองพระ พระเจ้าสินพยูชิน พระเจ้าปะดุง พระเจ้าพะคยีดอ พระเจ้าพุกาม พระเจ้ามินดง พระเจ้าสีป่อ ต่อมาประเทศอังกฤษได้ประเทศพม่าทั้งหมดเป็นเมืองขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2428 และให้เอกราชแก่พม่าเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

พระศิวนาฏราชในศิลปลพบุรี

พระศิวนาฏราช หรือ พระอิศวรทรงฟ้อนรำ จัดเป็นประติมากรรมที่สำคัญที่สุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะขอมนั้นเป็นภาพสลักนูนต่ำทั้งสิ้น ไม่เคยค้นพบประติมากรรมลอยตัวรูปพระศิวนาฏราชเลย ภาพพระศิวนาฏราชในศิลปะลพบุรีเป็นภาพสลักนูนต่ำ 4 รูป คือ 1) ภาพสลักบนหน้าบันด้านในของปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร อายุอยู่ในราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1650 เป็นพระศิวนาฏราชสวมมงกุฏมี 10 กร 2) ทับหลังของปราสาทองค์กลางที่ ปราสาทบ้านระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1650 ทับหลังมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ ตรงกลางเป็นรูปพระศิวนาฏราช 10 กร 3) บนหน้าบันของมุขด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเป็นรูปพระศิวนาฏราชหลายกร คงสร้างขึ้นราวระหว่าง พ.ศ. 1650-1675 4) ทับหลังศิลา เดิมอยู่ที่ปรางค์กู่สวนแตง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช 2 กร อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 รูปพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำของศิลปะลพบุรีในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมราวระหว่าง พ.ศ. 1600-1750 อิทธิพลดั้งเดิมคงมาจากประเทศอินเดียภาคเหนือ แต่ในศิลปะลพบุรีอาจมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียภาคใต้เข้ามาปะปนอยู่บ้าง จึงมีรูปยักษ์เข้ามาผสมอยู่.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ประติมากรรมขอม [ตอนที่ 14]

บทความกล่าวถึงวัตถุที่หล่อด้วยโลหะในศิลปะขอม โดยเฉพาะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ทั้งสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร ทั้งประติมากรรมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งประติมากรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในส่วนท้ายของบทความกล่าวถึงวัตถุสัมฤทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม เช่นสังข์ วัชระ ฯลฯ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงฐานและแม่พิมพ์.

Boisselier, Jean