ไทย

Taxonomy

Code

Scope note(s)

Source note(s)

Display note(s)

Hierarchical terms

ไทย

Equivalent terms

ไทย

Associated terms

ไทย

70 Archival description results for ไทย

70 results directly related Exclude narrower terms

ข้อเท็จจริง : พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เคยเล่าว่า เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ไม้สิบสอง ที่วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ความจริงแล้วไม่ใช่เจดีย์องค์เดิมที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยทัย แต่เชื่อว่าเจดีย์ทรงกลมแฝด 2 องค์ ซึ่งคงสร้างสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ น่าจะเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริโยทัยองค์หนึ่ง และพระราชบุตรีที่สิ้นพระชนม์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งเจดีย์ทรงกลมทั้ง 2 องค์ ได้ถูกรื้อทิ้งไปแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการค้นพบพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แต่ ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม ค้นคว้าพบว่า เจดีย์ไม้สิบสององค์นี้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะและขุดค้นภายในพระเจดีย์ดังกล่าว ปรากฏว่าได้ค้นพบพระธาตุของพระอรหันต์ใส่ผอบไว้จำนวนมาก แต่ไม่พบพระอัฐิของสมเด็จพระสุริโยทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความก้าวหน้าในการศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ

การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณ 3 เรื่อง 1) ปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันและอาณาจักรเจนละ โดยทั่วไป ประวัติศาสตร์สมัยโบราณในประเทศกัมพูชาสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (pre-Angkorean period) และมีอายุก่อน พ.ศ. 1355 นั้น นิยมใช้ชื่อตามที่ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีน คือ อาณาจักรฟูนัน และอาณาจักรเจนละ ซึ่งนักวิชาการหลายท่านสนใจศึกษาค้นคว้า เช่น ศาสตราจารย์โคลด ชาค (Claude Jacques) ศาสตราจารย์เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ศาสตราจารย์ฟิโนต์ (Louis Finot) ศาสตราจารย์ดูปองต์ (P. Dupont) 2) เดิม ศาสตราจารย์เซเดส์ เขียนไว้ในหนังสือว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ของขอมทรงเป็นเชื้อชาติมาลายู และเสด็จขึ้นมาจากเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาได้เปลี่ยนความเห็นว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงเป็นจ้าชายขอมแต่ดั้งเดิม 3) หลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นซากโบราณสถานที่เนินทางพระ พบวัตถุสำคัญที่สลักจากศิลาคือ องค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืน เศียรพระพุทธรูป ประติมากรรมสัมฤทธิ์ เช่น เศียรพระพุทธรูปหรือพระพุทธรูปทรงเครื่องขนาดเล็ก และพระพิมพ์ เครื่องประดับปูนปั้นรูปเทวดา มนุษย์และยักษ์ ประติมากรรมปูนปั้นในศาสนาฮินดู เศียรเทวดา ครุฑ ลวดลายพันธุ์พฤกษา แผ่นอิฐมีจารึกตัวอักษรขอมว่า “ ก “ และเครื่องมือเหล็กสำหรับสกัดศิลา หลักฐานที่ค้นพบนี้ยืนยันว่า เมืองสุวรรณปุระในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ในประเทศกัมพูชา คงจะเป็นเมืองสุพรรณบุรีของไทยอย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ถ้ำงาม ปัจจุบันเรียกว่า ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. มีภาพใหญ่สลักอยู่บนผนังถ้ำทางด้านซ้ายใกล้กับปากถ้ำ เป็นภาพนูนต่ำพระพุทธรูปทรงแสดงปางประทานธรรม (วิตรรกะ) ประทับนั่งห้อยพระบาท (ประลัมพปทาสน์) อยู่บนบัลลังก์ ทรงครองจีวรด้วยการยึดชายผ้าอุตราสงค์ไว้ ด้านซ้ายเป็นรูปพระอิศวรประทับอยู่ในท่าสบายพระทัย (ลลิตาสน์) และมีลักษณะเป็นนักบวช เทวรูปพระนารายณ์ทรงศิราภรณ์คล้ายกับประติมากรรมบางรูปจากเมืองศรีเทพ คือ สวมหมวกรูปทรงกระบอกมีรัศมีเป็นรูปไข่ หรือวงโค้งหลายหยัก จักรของพระนารายณ์มีขนาดใหญ่มาก ดูค่อนข้างแปลก ส่วนรูปเทวดากำลังเหาะทั้งทรงผม เครื่องแต่งกายและท่าทาง ทำให้นึกถึงภาพนูนต่ำปั้นด้วยปูนหรือดินเผาที่พบทางแถบภาคตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ศาสตราจารย์บวสเซอลีเย่ สรุปว่า ทั้งพระพุทธรูป เทวรูปพระอิศวร และพระนารายณ์ในถ้ำพระโพธิสัตว์ อาจจัดอยู่ในศิลปะทวาราวดีได้อย่างแท้จริง.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

โครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของไทยเวลานี้ มีแต่เพียงพิพิธภัณฑ์โบราณคดีสมควรที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ที่สำคัญขึ้นอีก เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทย และศิลปะปลายบุรพทิศ (Thai and Far Eastern Museum) เพื่อจัดแสดงศิลปวัตถุยุคต่าง ๆ ในประเทศไทยและของต่างประเทศที่พบในประเทศไทย ศิลปะอินเดีย ลังกา ชวา เขมร จัมปา ฯลฯ พร้อมทั้งมีห้องประชุม หอรูปสำหรับเก็บรูปถ่ายศิลปวัตถุสถาน หอสมุดและหอแผ่นเสียง พิพิธภัณฑ์ชาติวงศ์วรรณา (Ethnological Museum) เพื่อจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมถึงชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยด้วย พิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อแสดงศิลปวัตถุของท้องถิ่น สำหรับบุคคลฝ่ายวิชาการควรส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศด้านโบราณคดีในหลายแขนง เพื่อจะได้กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ วิชาซ่อมของโบราณที่ขุดค้นได้ วิธีถ่ายรูปของโบราณ วิธีทำแผ่นภาพกระจก ฯลฯ.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ชำแหละทับหลังฯ อย่าให้ไฟไหม้ฟาง

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เดิมอยู่ทางทิศตะวันออกของประสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ตกลงมาที่พื้นและแตกออกเป็นสองซีก หลักฐานรูปแรกสุดได้ถ่ายไว้สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2472 อีก 31 ปีต่อมา นายมานิต วัลลิโภดม จากกรมศิลปากรถ่ายรูปไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ต่อมา กรมศิลปากรจึงได้พิมพ์เป็นหนังสือ หลังจากนั้นทับหลังก็หายไป ซึ่งกรมศิลปากรไปติดตามได้คืนมาชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันติดอยู่ที่ปราสาทพนมรุ้งแล้ว เมื่อ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ได้รับเชิญไปบรรยายที่สหรัฐอเมริกา รวมทั้งที่สถาบันชิคาโกด้วยได้พบทับหลังตั้งแสดงอยู่ที่นั่น จึงได้รายงานถึงกรมศิลปากรให้ดำเนินการติดต่อขอคืนในปี พ.ศ. 2519 และเงียบหายไปเป็นเวลากว่า 10 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2531 จึงมีการติดต่อ และส่งคืนให้ในที่สุด.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ตอบคุณปรีดา ศรีชลาลัย

คุณปรีดา ศรีชลาลัย ผู้สนใจในวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ได้กรุณาเขียนบทความเรื่อง "ข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับโบราณคดีไทย" โดยได้พยายามพิสูจน์ว่าชนชาติไทยได้ลงมาอยู่ในแหลมทองหรือประเทสไทยปัจจุบันนี้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนชาติอื่น โดยกล่าวถึงเหตุผลทั้งทางด้านชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อบ้านเมือง แม่น้ำ ภูเขา ในปัจจุบัน ล้วนเป็นชื่อภาษาไทยทั้งสิ้น ลัทธิศาสนาซึ่งชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็ออกเสียงตรงตามสำเนียงคำของอินเดียเป็นส่วนมาก วิชาหนังสือที่ชาวอินเดียเผยแพร่มาให้ ไทยก็รับสืบสำเนียงคำอ่านออกเสียงสระพยัญชนะ ตรงตามแบบฉบับของอินเดียที่สุด และยังกล่าวถึงหลักฐานจารึกภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดมีอยู่ 2 แห่ง คือที่ถ้ำฤษีเขางู จังหวัดราชบุรี และที่วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ทับหลังแบบถาลาบริวัตรในประเทศไทย

นางมิเรย เบนิสตี (Mireille Benisti) กล่าวถึงทับหลังแบบถาลาบริวัต (Thala Borivat) ว่าเป็นทับหลังที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปขอมในราวกลาง พุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งค้นพบทับหลังศิลา 6 ชิ้น ที่ถาลาบริวัต บริเวณฝั่งขวาของแม่โขง และพบที่ปราสาทขตป (Khtop) 2 ชิ้น นางเบนิสตี เห็นว่าทับหลังซึ่งค้นพบที่ถาลาบริวัตเก่ากว่าที่สมโบร์ไพรกุก และถาลาบริวัตอาจเป็นสถานที่ตั้งของเมืองภวปุระของพระเจ้าภรวรมัน สำหรับทับหลัง 2 ชิ้น ซึ่งค้นพบที่ปราสาทขตปนั้น นางเบนิสตีเห็นว่าคงสลักขึ้นในปลายศิลปแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ. 1200 ในประเทศไทยได้ค้นพบทับหลังแบบถาลาบริวัต 4 ชิ้นที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งนับว่าเป็นทับหลังขอมแบบถาลาบริวัตอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ยังได้ค้นพบศิลาจารึกขอมในพุทธศตวรรษที่ 12 หลักหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงการสร้างศาสนสถานของพระเจ้าอีศานวรมันท ี่1 พร้อมกันนี้ยังมีทับหลังอีกชิ้นหนึ่งซึ่งรักษาอยู่หน้าอุโบสถวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี อาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างศิลปขอมแบบ ถาลาบริวัตและสมโบร์ไพรกุก และอาจสลักขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1150.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

นางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์สมัยลพบุรี ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ

ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายเกี่ยวกับรูปนางปรัชญาปารมิตาสัมฤทธิ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2518 ที่กล่าวว่า มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-14 คือในสมัยระหว่างศิลปขอมสมัยไพรกเมง – กำพงพระ - กุเลน รูปนางปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปสตรีสูง 59 เซนติเมตร พบที่อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี การกำหนดอายุของประติมากรรมรูปนี้กำหนดได้ 2 ทาง คือ จากทรงผมและผ้านุ่ง ทรงผมที่รวบขึ้นไปเป็นมวยและห้อยตกลงมาเป็นวงพร้อมทั้งมีขมวดอยู่ภายใน มีมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร คือ ในสมัยไพรกเมง - กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ 13-14) ส่วนผ้าทรงเป็นผ้านุ่งจีบเป็นริ้วทั้งตัวและนุ่งแบบพับป้ายนั้น ไม่เคยปรากฎในศิลปขอมสมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 12-14) ผู้เขียนยืนยันว่า รูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปรัชญาบารมีสัมฤทธิ์รูปนี้ เป็นประติมากรรมสมัยลพบุรีที่หล่อขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มิใช่ศิลปแบบก่อนขอมราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 อย่างแน่นอน.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

นโยบายการสงวนรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมภายในประเทศไทย

สถาปัตยกรรมที่พึงสงวนรักษาในประเทศไทย แบ่งเป็นหลายประเภท คือ โบราณสถาน วัดที่ยังมีพระสงฆ์ประจำอยู่ บ้านแบบไทย และอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศ โดยมีพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 โดยมีกรมศิลปากรทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ในการสงวนรักษาโบราณศิลปสถานแห่งชาติ ดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณศิลปสถาน การบูรณะโบราณศิลปวัตถุสถานที่ถูกต้องควรมีการวิจัยก่อนซึ่งกระทำแบบพหุวิชาการโดยสถาปนิก นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ และอาจมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย วัดต่างๆ ที่มีประสงฆ์อยู่ประจำและได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว เจ้าอาวาสที่ต้องการบูรณะต้องขออนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรก่อน สำหรับบ้านแบบไทย ควรใช้วิธีการชักชวนให้ก่อสร้างบ้านแบบไทยไม่ใช่วิธีบังคับ ส่วนอาคารที่แสดงถึงอิทธิพลของต่างประเทศนั้นควรบำรุงรักษา เพื่อแสดงถึงลักษณะที่น่าสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม และการสืบต่อทางด้านประวัติศาสตร์.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

ใบเสมาสลักเล่าเรื่องสมัยลพบุรีในพิพิธภัณฑสถานฯ

ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ห้องลพบุรี มีใบเสมาศิลาสมัยลพบุรี ซึ่งมีภาพสลักประกอบอยู่ 3 แผ่น
ใบแรกสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน สลักด้วยศิลาทรายสีชมพู สูง 119 ซม. กว้าง 65 ซม. และหนา 46 ซม. สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตประทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2475 ด้านหน้าสลักเป็นพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ มีนาค 7 เศียรอยู่ดหนือพระเศียรของพุทธรูป และมีขนาดนาค 3 ชั้น อยู่เบื้องล่าง ด้านข้างขวาของพระพุทธรูปสลักเป็นรูปบุรุษและสตรียืนอยู่ภายในวงโค้งซึ่งสลักเป็นช่องลึกเข้าไปในเนื้อศิลา ด้านหลังคือด้านตรงข้ามกับพระพุทธรูปนาคปรก สลักเป็นรูปบุรุษ 8 กร ยืนอยู่ภายในซุ้ม ซึ่งด้านบนสลักเป็นขอบซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นบนมีส่วนกลางแหลม ยืนเหนือฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งมีเกสรบัวประกอบ มีพระพุทธรูป 2 องค์ ปางสมาธิขนาดเล็กอยู่ภายในซุ้มเบื้องบนของศีรษะ ด้านข้างซ้ายของพระพุทธรูปสลักรูปบุรุษและสตรียืนซ้อนกันอยู่ภายในซุ้ม วงส่วนยอดประกอบด้วยวงโค้ง 3 วง ดังในภาพสลักด้านข้างด้านขวา รูปบุรุษด้านบนคงเป็นรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีอย่างแน่นอน
ใบเสมาสลักภาพอีก 2 แผ่น มาจากศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี สลักขึ้นในสมัยลพบุรี โดยใช้หินปูนสีเทาซึ่งเป็นที่นิยมกันในสมัยทวารวดี
ใบเสมาแผ่นที่ 2 สูง 96.5 ซม. กว้าง 46 ซม. ความหนารวมฐานด้านหน้า 44.5 ซม. สลักเป็นรูปพระพรหมกำลังยืนอยู่ภายในซุ้ม ซุ้มมีลักษณะคล้ายกับซุ้มเหนือพระพุทธรูปนาคปรกในใบเสมาแผ่นที่ 1 แต่มีลวดลายประดับมากยิ่งขึ้น คือภายในแบ่งเป็นแนว 3 แนวแทนที่จะเป็นพื้นเรียบดังแต่ก่อน ใบระกาเหนือซุ้มเพิ่มขึ้นเป็น 13 ใบ แทนที่จะเป็น 11 ใบ และทุกใบประกอบด้วยขอบเป็นเส้นคู่แทนที่จะมีแต่เพียงบนใบกลางเพียงใบเดียว ลายที่มุมเหนือบัวหัวเสาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คงกลายมาจากเศียรนาคที่หันหัวออกคายพวงอุบะ ภายในมีพระพรหมกำลังยืนอยู่ แลเห็นพักตร์เพียง 2 พักตร์
ใบเสมาแผ่นที่ 3 มีลักษณะคล้ายกับใบเสมาสลักรูปพระพรหมมาก สูง 103 ซม. กว้าง 42 ซม. และหนา 30 ซม. สลักเป็นรูปเทพธิดา 2 องค์ ยืนอยู่ภายในซุ้ม ลักษณะซุ้มเหมือนกับซุ้มเหนือพระพรหม แต่ใบระกาจำนวนลงเหลือเพียง 11 ใบ ไม่มีขอบเป็นเส้นคู่ แต่มีเส้นนูนอยู่ตรงกลางทุกใบ ลวดลายที่ขอบซุ้มเหนือหัวบัวเสาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลายมาจากลายเศียรนาคหันหัวออกคายพวงอุบะ เทพธิดา 2 องค์นี้แสดงให้เห็นว่าสลักขึ้นตรงกับศิลปขอมสมัยบาปวนตอนปลาย (ราว พ.ส. 1600-1650) คือมีเกศาเป็นเกศาถักรวบเป็นมวยมีรูปร่างค่อนข้างกลมอยู่เหนือเศียร และมีลูกประคำอยู่ที่เชิงมวย มีไรพระศกและพระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม.

ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล

Results 11 to 20 of 70